กรมไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาได้ออกดวงตราไปรษณียากรหรือแสตมป์สำหรับติดส่งจดหมายหรือพัสดุแบบใหม่ 2 ดวงเพื่อเฉลิมฉลองกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุด ทรงพลังที่สุด และซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอวกาศ เป็นเครื่องมือความร่วมมือร่วมใจของ 3 องค์การอวกาศ คือนาซาของสหรัฐฯ องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดา

กรมไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาได้ออกดวงตราไปรษณียากรหรือแสตมป์สำหรับติดส่งจดหมายหรือพัสดุแบบใหม่ 2 ดวงเพื่อเฉลิมฉลองกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุด ทรงพลังที่สุด และซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอวกาศ เป็นเครื่องมือความร่วมมือร่วมใจของ 3 องค์การอวกาศ คือนาซาของสหรัฐฯ องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดา

แสตมป์ 2 ดวงใหม่นี้ประกอบด้วยรูปภาพปรากฏการณ์สุดทึ่งในจักรวาลที่กล้องเวบบ์บันทึกไว้นับตั้งแต่เริ่มภารกิจวิทยาศาสตร์ในปี 2565 โดยแสตมป์ชุดแรกเป็นประเภท “ไพรออริตี เมล เอกซ์เพรสส์” (Priority Mail Express) มีภาพ “หน้าผาคอสมิก” (Cosmic Cliffs) ในเนบิวลากระดูกงูเรือ (Carina Nebula) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7,600 ปีแสง ที่ถ่ายโดย NIRCam เป็นกล้องช่วงคลื่นแสงอินฟราเรดที่อยู่บนกล้องเวบบ์ ภาพนี้เผยเรือนเพาะชำดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่และเผยดาวฤกษ์หลายดวงซ่อนตัวอยู่ ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพสีเต็มชุดแรกที่เปิดเผยจากกล้องเจมส์ เวบบ์ในเดือน ก.ค.2565 แสดงให้เห็นพลังของกล้องโทรทรรศน์ตัวนี้ในการมองทะลุฝุ่นจักรวาลและให้ความกระจ่างใหม่ว่าดาวฤกษ์ก่อตัวอย่างไร ส่วนแสตมป์อีกดวงหนึ่งคือประเภท “ไพรออริตี เมล” (Priority Mail) เป็นรูป “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ถ่ายโดย MIRI กล้องตรวจจับรังสีอินฟราเรดย่านกลาง ซึ่ง “เสาแห่งการก่อกำเนิด” ตั้งอยู่ภายในเนบิวลานกอินทรีอันกว้างใหญ่ อยู่ห่างออกไป 6,500 ปีแสง

แสตมป์ใหม่เหล่านี้จะจัดรวมเข้ากับชุดแสตมป์ที่เรียกว่า “ฟอร์เอเวอร์ แสตมป์” (Forever stamp) ที่ออกโดยกรมไปรษณีย์ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2565.

กรมไปรษณีย์สหรัฐอเมริกา,อเมริกา,แสตมป์ใหม่,หน้าผาคอสมิก, องค์การอวกาศยุโรป

แท็ก