BANGKOK SOLAR CITY แผนเปลี่ยน กทม. เป็นมหานครโซลาร์เซลล์

wewy (3)-min

 

กรุงเทพมหานครมุ่งสู่ “มหานครโซลาร์เซลล์” ด้วยแผนพัฒนาการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 60 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2568 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมพลังงานสะอาด แผนนี้ประกอบไปด้วย 3 แกนหลัก ดังนี้

1. อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์
-ติดบนหลังคาอาคารที่มีน้ำหนักรวมบริเวณใดบริเวณหนึ่ง “เกิน” 20 กิโลกรัม/ตร.ม. ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร ไม่ต้องขออนุญาตติดตั้งแต่ต้องมีวิศวกรโยธารับรองความมั่นคงแข็งแรง
-ติดบนหลังคาอาคารที่มีน้ำหนักรวมบริเวณใดบริเวณหนึ่ง “ไม่เกิน” 20 กิโลกรัม/ตร.ม. ไม่ต้องมีวิศวกรโยธารับรอง

2. ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในหน่วยงานของ กทม.
-โรงบำบัดน้ำเสีย 8 แห่ง กำลังติดตั้ง 1.7 MW คาดการณ์ผลผลิต 2,164 MWh ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 967 tCO2e/ปี ประหยัดค่าไฟฟ้า 20%
-โรงพยาบาลสังกัด กทม. 9 แห่ง กำลังติดตั้ง 2.7 MW คาดการณ์ผลผลิต 3,781 MWh ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 2,152.50 tCO2e/ปี
-ตั้งเป้าติดตั้ง 10 MW เพิ่มเติมในปี 2568

3. สำรวจฐานข้อมูลโซลาร์เซลล์ในพื้นที่กรุงเทพฯ
-ปัจจุบัน พบการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 348 แห่ง (จาก 34 เขต) กำลังผลิต 26.5 MW แบ่งเป็น กำลังการผลิตน้อยกว่า 20 กิโลวัตต์ 296 แห่ง และมากกว่า 20 กิโลวัตต์ 52 แห่ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ค่าบริการต่อหน่วย ลดลง 20% จากค่าไฟฟ้าฐาน
-คาดการณ์ผลลัพธ์ที่ประหยัดไปได้ตลอด 25 ปี เป็นเงิน 36,955,516 บาท
-ลดมลพิษทางอากาศ

แผนลดก๊าซเรือนกระจก 3 แกนหลัก
-ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน: เช่น เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแอลอีดี หรือจำกัดความเย็นของอาคาร
-ส่งเสริมพลังงานทดแทน: โซลาร์เซลล์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล
-ส่งเสริมการเดินทางทางเลือก: สนับสนุนการใช้รถสาธารณะ จักรยาน และการเดินเท้า

กรุงเทพมหานครมุ่งมั่นพัฒนาสู่ “มหานครโซลาร์เซลล์” ด้วยแผนพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ แผนนี้มุ่งหวังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมพลังงานสะอาด และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับคนกรุงเทพฯ

 

แท็ก