จากกรณีเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอิสตันบูล ประเทศตุรกี ตรวจพบลูกกอริลลาถูกซุกซ่อนมากับสินค้าที่ระบุปลายทางประเทศไทย ซึ่งภายทราบว่ามีการสำแดงเท็จเป็นกระต่าย เอกสารระบุปลายทางส่งมายังบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม นายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชให้สัมภาษณ์ในรายการ “แชร์เล่าข่าวเด็ด” ทางคลื่นข่าว MCOT NEWS FM 100.5 กล่าวว่าสัตว์ป่าหายากประเภทนี้ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในไทย และการนำเข้ามาน่าจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ ซึ่งอาจลำเลียงผ่านเส้นทางบกหรืออากาศ โดยมีต้นทางจากประเทศในแอฟริกา เช่น คองโก หรือไนจีเรีย พร้อมชี้ว่ามูลค่าของสัตว์ป่าหายากเหล่านี้อาจสูงถึง 50 ล้านบาท หากถูกส่งต่อไปยังประเทศที่สาม ทั้งนี้นายดำรงค์เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและปราบปรามเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าเพื่อยุติปัญหานี้อย่างเด็ดขาด
นายดำรงค์ ระบุว่าความต้องการกอริลลาในสวนสัตว์ทั่วโลกยังคงสูง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายาก มีจำนวนเพียงประมาณ 800 ตัว โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในถิ่นกำเนิด ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก พร้อมวิจารณ์การลักลอบนำเข้ากอริลลาว่า เป็นการปฏิบัติที่อำพรางและอาจเกี่ยวข้องกับการร่วมมือของเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ข้ามชาติ ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 50 ล้านบาท โดยนายดำรงค์ชี้ว่าควรติดตามจับกุมถึงปลายทางเพื่อเชื่อมโยงผู้กระทำผิดทั้งหมด แทนการยึดจับเฉพาะที่ด่านตรวจ พร้อมเรียกร้องให้มีการประสานงานและปราบปรามอย่างจริงจังเพื่อป้องกันปัญหานี้ในอนาคต
นอกจากนี้ นายดำรงค์ ยังกล่าวอีกว่าถึงขบวนการค้าสัตว์ป่าหายากว่า มักลักลอบนำสัตว์อย่างกอริลลาไปยังประเทศที่สามเพื่อเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับถิ่นกำเนิด โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น ระบุว่าการเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ในประเทศไทยเป็นไปได้ยากเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงขบวนการที่อาจอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านในการส่งต่อสัตว์ไปยังปลายทาง และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งต้นทางและปลายทางเพื่อเปิดโปงเครือข่ายทั้งหมด โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องในการลำเลียงและรับสัตว์ที่ปลายทาง
นายดำรงค์ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการค้าสัตว์ป่าหายาก โดยเฉพาะลูกกอริลลา ซึ่งมีการลักลอบนำออกจากถิ่นกำเนิดด้วยวิธีการโหดร้าย โดยต้องฆ่าแม่กอริลลาในฝูง เนื่องจากลูกกอริลลามีสัญชาตญาณเกาะติดแม่ตลอดเวลา การค้าสัตว์ป่าดังกล่าวมีมูลค่ามหาศาล โดยลูกกอริลลาอาจมีราคาสูงถึงหลักร้อยล้านบาท หากส่งถึงปลายทางในประเทศที่มีความต้องการ เช่น อเมริกาและอังกฤษ ทั้งนี้ สถานการณ์น่าเป็นห่วง เนื่องจากกอริลลาทั่วโลกเหลือเพียง 800 ตัว และใกล้สูญพันธุ์เต็มที ขณะที่ในประเทศไทยมีเพียง “บัวน้อย” กอริลลาเพศเมียที่นำเข้าถูกกฎหมายในปี 2535 ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามความสำคัญของการมีมาตรการป้องกัน และการประสานงานระหว่างประเทศในการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าหายาก โดยเฉพาะการค้าผ่านประเทศต่างๆ เช่น ตุรกี เจ้าหน้าที่สนามบินมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและป้องกันการขนส่งสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย พร้อมเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ในการไม่ยอมรับสินบน และการเอาจริงเอาจังในการจับกุมขบวนการลักลอบค้า หากเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ ปัญหาดังกล่าวจะสามารถลดลงได้
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความโชคดีที่การลักลอบนำเข้ากอริลลาไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เตือนว่าไทยมักเป็นทางผ่านในขบวนการดังกล่าว โดยการป้องกันขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ในการทำหน้าที่