รัฐบาล แนะ 8 วิธีการดูแลตัวเองในหน้าร้อน ย้ำมีแผน 9 มาตรการรองรับภัยแล้ง

wewy

 

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงประชาชน จึงมีข้อแนะนำ 8 วิธีการดูแลตนเองจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ดังนี้

1.ดื่มน้ำให้มากขึ้นจากปกติ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แก้ว เนื่องจากหน้าร้อนร่างกายจะสูญเสียเหงื่อมาก ควรหลีกเลี่ยงน้ำหวาน เพราะจะยิ่งทำให้กระหายน้ำมากขึ้น อาจดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำสมุนไพรที่มีรสไม่หวานจัดแทน
2.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น อาจทำให้เกิดการขาดน้ำ นอกจากนี้ ในหน้าร้อนแอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว ทำให้เมาง่าย และอาจช็อกหมดสติได้
3.ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่ายขึ้น
4.สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ง่าย และดูแลความสะอาดของร่างกายไม่ให้เกิดการอับชื้น
5.ใช้ครีมกันแดดเมื่อออกกลางแจ้งหรือในที่แดดแรงๆ เพื่อป้องกันการเกิดผิวไหม้จากการได้รับแสงแดดมากเกินไปและควรสวมแว่นกันแดดเพื่อปกป้องสายตา
6.ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นโกรกในทันทีที่ออกแดดมา ซึ่งความร้อนจากแดดทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง แต่เมื่อนอนหลับตากความเย็นในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงอย่างเร็ว ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อไม่สามารถระบายออกมาได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ และอาจทำให้เป็นไข้หวัดได้
7.รับประทานอาหารปรุงสุกและสะอาด ป้องกันโรคทางเดินอาหารและน้ำที่พบบ่อยในหน้าร้อน
8.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

นางรัดเกล้า ย้ำว่า ขณะเดียวกันนี้ ในส่วนของรัฐบาล เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน นั้นหมายถึง “ภัยแล้ง” ที่จะตามมา โดยทาง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเตรียมการมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/2567 ไว้ทั้งสิ้น 9 มาตรการประกอบด้วย

1.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ
2.ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
3.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูก พืชฤดูแล้งควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรังสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง
4.บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประหยัดน้ำและการลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน
6.เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ
7.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน องค์กรผู้ใช้น้ำ
และอีก 2 มาตรการสุดท้ายคือการสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

 

แท็ก