นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวทางและเงื่อนไขโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต คือ
1 เป้าหมายประชาชน 50 ล้านคน คนเกินอายุ 16 ปี ไม่มีเงินได้เกิน 8.4 แสนบาทต่อปีภาษี ไม่มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นเกณฑ์เดิม
2.เงื่อนไขการใช้จ่ายประชาชนกับร้านค้า ในพื้นที่อำเภอ ร้านค้าขนาดเล็กที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
3.ร้านค้ากับร้านค้าไม่กำหนดพื้นที่ ไม่กำหนดขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายได้หลายรอบ การเปลี่ยนแปลงรอบที่ 1 เป็นของประชาชนกับร้านค้า สินค้าทุกประเภท ไม่รวมสินค้าอบายมุข สินค้าออนไลน์ น้ำมัน
4.ใช้ระบบพัฒนาขึ้นเองโดยสำนักงานพัฒนาดิจิทัล ร่วมดีอี ทำซูเปอร์แอป ใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น
5.คุณสมบัติร้านค้าที่ถอนเงิน ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา เฉพาะผู้มีรายได้พึงประเมิน เป็นผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ส่วนการถอนเงินสด ถอนทันทีไม่ได้ ต้องถอนหลังจากใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป ลดความเสี่ยงทุจริต เพิ่มผลกระตุ้นเศรษฐกิจ
6.ประชาชนร่วมโครงการไตรมาส 3 ปี 2567 ใช้จ่าย ไตรมาส 4 2567
7.มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ โดยมีรอง ผบ.ตร. เป็นประธาน มีผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นกรรมการ นอกจากนั้นยังมีคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมีตนเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขรายละเอียด โครงการและระบบให้สอดคล้องตามเงื่อนไข ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประสานงานและประชาสัมพันธ์
นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า วันนี้คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ตได้มีมติเห็นชอบในรายละเอียดทุกประเด็นที่ได้นำเรียน และได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ในฐานะเลขานุการและกรรมการ นำมติที่ได้รับความเห็นชอบเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจาณาต่อไปภายในเดือน เม.ย. นี้