รบ.สนับสนุนเกษตรกร-โรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 66

Hotnews เริ่ม 1 ตุลา 66

รบ.สนับสนุนเกษตรกร-โรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 66 เฟ้นหา-อนุรักษ์พันธุ์ข้าว นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยการทำงานของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2566 เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศของไทย เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture and Food Hub) ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี สร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจน เชื่อมโยงแหล่งตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวด ได้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยประเทศไทยซึ่งถือเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก ในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 และตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

สำหรับการประกวดข้าวหอมมะลิของไทยฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ทั้งนี้ สำหรับผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประเภทเกษตรกรรายบุคคล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์ จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี และประเภทสถาบันเกษตรกร ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด โดยได้รับรางวัลเป็นรางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 6 แสนบาท

นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดทำ MOU ซื้อ – ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด 500 บาทต่อตัน จำนวน 6 คู่ ปริมาณกว่า 343.4 ตัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูง จะมีตลาดรองรับ

“นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ สนับสนุนให้ยกระดับ คงคุณภาพสินค้าเกษตร มั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะตั้งใจทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และประชาชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”
#ประกวดข้าวหอมมะลิ #สนับสนุนเกษตรกร #อนุรักษ์พันธุ์ข้าว

เฟ้นหา-อนุรักษ์พันธุ์ข้าว นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยการทำงานของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2566 เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศของไทย เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture and Food Hub) ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี สร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจน เชื่อมโยงแหล่งตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวด ได้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยประเทศไทยซึ่งถือเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก ในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 และตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

สำหรับการประกวดข้าวหอมมะลิของไทยฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ทั้งนี้ สำหรับผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประเภทเกษตรกรรายบุคคล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์ จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี และประเภทสถาบันเกษตรกร ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด โดยได้รับรางวัลเป็นรางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 6 แสนบาท

นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดทำ MOU ซื้อ – ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด 500 บาทต่อตัน จำนวน 6 คู่ ปริมาณกว่า 343.4 ตัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูง จะมีตลาดรองรับ

“นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ สนับสนุนให้ยกระดับ คงคุณภาพสินค้าเกษตร มั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะตั้งใจทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และประชาชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”

แท็ก