สำนักข่าวซินหัวรายงาน ผลสำรวจจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น พบว่าครูในประเทศลาหยุดเนื่องด้วยอาการผิดปกติทางจิต สูงเป็นประวัติการณ์ในปีงบประมาณ 2022 ด้วยจำนวน 6,539 คน ซึ่งตอกย้ำผลกระทบจากความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นในแวดวงการศึกษา
รายงานระบุว่าตัวเลขจากการสำรวจระหว่างเดือนเมษายน 2022 จนถึงเดือนมีนาคม 2023 เพิ่มขึ้น 642 คน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 และคิดเป็นร้อยละ 0.71 ของครูทั้งหมดในโรงเรียนประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย รวมถึงโรงเรียนเด็กพิเศษ
คณะผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ภาระงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และความจำเป็นของการดำเนินมาตรการป้องกันการติดเชื้อ อาจมีส่วนส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของครูที่ลาหยุดด้วยปัญหาสุขภาพจิต
การสำรวจพบว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดใหญ่ จำนวนครูที่ลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น มากกว่า 1,300 คน ซึ่งทำลายสถิติแนวโน้มครูลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อนหน้านี้ทรงตัวอยู่ที่ราว 5,000 คน
รายงานระบุว่าภาวะขาดแคลนครูในโรงเรียนของญี่ปุ่นถือเป็นปัญหาร้ายแรง โดยคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวสนใจจะเป็นครูลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะมองว่ามีภาระงานหนักหน่วง ขณะเดียวกันมีครูลาหยุดเนื่องด้วยเจ็บป่วยหรือคลอดบุตรเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนั้นการสำรวจพบว่าครูที่ลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี (1,867 คน) ตามด้วยช่วงอายุ 50-59 ปี ช่วงอายุ 40-49 ปี และช่วงอายุ 20-29 ปี
ทั้งนี้ กระทรวงฯ วางแผนจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ผ่านการปฏิรูปรูปแบบการทำงาน ซึ่งรวมถึงลดงานเอกสารและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานครูญี่ปุ่นลาสูงเป็นประวัติการณ์จาก ‘ปัญหาสุขภาพจิต’พุ่งสูง
สำนักข่าวซินหัวรายงาน ผลสำรวจจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น พบว่าครูในประเทศลาหยุดเนื่องด้วยอาการผิดปกติทางจิต สูงเป็นประวัติการณ์ในปีงบประมาณ 2022 ด้วยจำนวน 6,539 คน ซึ่งตอกย้ำผลกระทบจากความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นในแวดวงการศึกษา
รายงานระบุว่าตัวเลขจากการสำรวจระหว่างเดือนเมษายน 2022 จนถึงเดือนมีนาคม 2023 เพิ่มขึ้น 642 คน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 และคิดเป็นร้อยละ 0.71 ของครูทั้งหมดในโรงเรียนประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย รวมถึงโรงเรียนเด็กพิเศษ
คณะผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ภาระงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และความจำเป็นของการดำเนินมาตรการป้องกันการติดเชื้อ อาจมีส่วนส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของครูที่ลาหยุดด้วยปัญหาสุขภาพจิต
การสำรวจพบว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดใหญ่ จำนวนครูที่ลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น มากกว่า 1,300 คน ซึ่งทำลายสถิติแนวโน้มครูลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อนหน้านี้ทรงตัวอยู่ที่ราว 5,000 คน
รายงานระบุว่าภาวะขาดแคลนครูในโรงเรียนของญี่ปุ่นถือเป็นปัญหาร้ายแรง โดยคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวสนใจจะเป็นครูลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะมองว่ามีภาระงานหนักหน่วง ขณะเดียวกันมีครูลาหยุดเนื่องด้วยเจ็บป่วยหรือคลอดบุตรเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนั้นการสำรวจพบว่าครูที่ลาหยุดเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี (1,867 คน) ตามด้วยช่วงอายุ 50-59 ปี ช่วงอายุ 40-49 ปี และช่วงอายุ 20-29 ปี
ทั้งนี้ กระทรวงฯ วางแผนจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ผ่านการปฏิรูปรูปแบบการทำงาน ซึ่งรวมถึงลดงานเอกสารและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน