สสส.-เครือข่ายลดเค็ม หนุนภาษีโซเดียมปี 68 หวังลดเค็ม ลดโรค ป้องกันสุขภาพคนไทย!

  รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวถึงกรณีข่าวกรมสรรพสามิตเตรียมจัดเก็บภาษีโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ภายในปี 2568 ว่า การจัดเก็บภาษีโซเดียม ถือเป็นมาตรการกระตุ้นผู้ประกอบการอาหารปรับสูตรลดโซเดียม สร้างทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค ซึ่งหลายประเทศบังคับใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพประชาชน เช่น ฮังการี เก็บภาษีความเค็มจากขนมขบเคี้ยวและซอสปรุงรส ช่วยลดการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ 20-35% และคนฮังการียังเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สูตรลดโซเดียม 80% ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดโซเดียมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เม็กซิโก ตองกา ฟิจิ เก็บภาษีผลิตภัณฑ์และอาหารตามปริมาณโซเดียมเช่นกัน เพราะสะท้อนชัดว่า การรณรงค์ให้ความรู้เปลี่ยนพฤติกรรมลดบริโภคเค็มแก่ประชาชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากอาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กซอง โจ๊กถ้วย เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมสูง เป็นภัยต่อสุขภาพร่างกาย เสี่ยงก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ “หากมีแนวทางปฏิบัติและบังคับใช้ภาษีโซเดียมให้เกิดขึ้น จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับการผลิตให้มีปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด ผู้ผลิตไม่เสียประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มยอดจำหน่าย เพราะผู้บริโภคปรับมาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ผู้ผลิตยังมีส่วนในการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชน เค็มน้อย อร่อยได้ โดยหลักการของภาษีโซเดียม มิได้จัดเก็บเพื่อมุ่งแสวงหารายได้ แต่เป็นมาตรการชักจูงให้ผู้ประกอบการปรับสูตรลดโซเดียม โดยมีระยะเวลาให้ปรับตัว ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีในช่วงแรก โดยจะจัดเก็บภาษีตามปริมาณโซเดียมแบบขั้นบันได […]

ตัดเน็ตปอยเปต! ฟาดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ร่วง รัฐลั่น! เทลโก้-แบงก์ต้องร่วมจ่ายค่าเสียหาย

  นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่ามาตรการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา ได้ผลดี ส่งผลให้การก่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังดำเนินการตัดสัญญาณ มีการออกหมายจับเพิ่มกว่า 100 ราย พร้อมติดตามผลเป็นรายสัปดาห์ และเพิ่มจุดสัญญาณฝั่งไทยเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวส่งผลให้คดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ลดลงร้อยละ 20 และลดความเสียหายจากการหลอกลวงออนไลน์ จากเดิมมากกว่า 100 ล้านบาทต่อวัน เหลือต่ำกว่า 50 ล้านบาท โดยเฉพาะคดีลงทุนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลยังเป็นปัญหาหลัก ส่วนกรณีซื้อของไม่ตรงปกมีแนวโน้มลดลงจากมาตรการให้จ่ายเงินหลังตรวจสอบสินค้า   นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมบังคับใช้พระราชกำหนดป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ที่กำหนดให้ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมออนไลน์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบกฎหมาย ก่อนเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือเพื่อกำหนดมาตรการชดใช้ความเสียหาย คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนนี้